ในปัจจุบันประเทศจีนได้กลายเป็นประเทศที่อิทธิพลไปยังทั่วโลก ทั้งทวีปยุโรป อเมริกา ออสเตรเลียและแถบทวีปเอเชียที่เป็นพันธมิตรกับประเทศจีนในด้านการลงทุนและการค้าขายมาช้านาน ประเทศจีนมีอิทธิพลและเป็นพันธมิตรในแถบทวีปเอเชียเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะประเทศไทย ที่ซึ่งเป็นเหมือนพี่น้องบ้านใกล้เรือนเคียง ประเทศจีนนั้นมีตลาดขนาดที่ใหญ่และดึงดูนักลงทุนต่างชาติมาก อีกทั้งมีนโยบายการสนับสนุนที่ดีของรัฐบาลจีนที่เอื้อต่อการทำตลาดจีน

       ยิ่งไปกว่านั้นประเทศจีนมีขนาดตลาดที่ใหญ่มากสุดในโลกเป็นอันดับสองรองจากสหรัฐ และมีตัวเลข GDP ของทั้งปี 2022 โตขึ้น 3% ซึ่งสูงกว่าที่ผลสำรวจของนักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ที่ 2.7% ขณะที่ GDP ในไตรมาส 4 ขยายตัวอยู่ที่ 2.9% สูงกว่าคาดการณ์ที่ 1.6%ซึ่งเป็นการก้าวกระโดดที่มีแนวโน้มว่าจะเเซงหน้าสหรัฐได้ในอนาคต นอกจากนี้ประเทศมีประชากรมากกว่า1400 ล้านคน ซึ่งถือว่าเป็นขนาดตลาดที่มีผู้บริโภคมากที่สุดในโลก

อัตราส่วนนำเข้าส่งออกและลงทุนที่ตลาดจีน

     ปัจจุบันนักลงทุนของประเทศไทยได้เข้าไปร่วมทุนและเจาะตลาดจีนเป็นจำนวน ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าส่งออกสินค้าบริการจากตลาดจีน การซื้อหุ้น หรือการเข้าไปก่อตั้งบริษัทภายในประเทศจีน ประเทศจีนยังคงเป็นตลาดที่ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติแม้จะเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั่วโลก โดยพบว่าการลงทุนจากต่างชาติในจีนโตขึ้น 5.9 ล้านล้านบาทเมื่อปี 2564

      สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า กระทรวงพาณิชย์จีนเปิดเผยปริมาณการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่มีการใช้จริงบนแผ่นดินใหญ่ในปี 2022 ใน 8 เดือนเเรกอยู่ที่ 8.93 แสนล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.4 เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยข้อมูลตัวเลขข้างต้นเป็นสิ่งที่นักลงทุนสนใจเป็นอย่างมากที่จะเข้าไปลงทุนในตลาดจีน

      ตลาดจีนเป็นตลาดที่นักลงทุนไทยสนใจเป็นอย่างมาก เมื่อมองย้อนกลับไปจะพบว่ามีธุรกิจที่เข้าไปทำตลาดจีนแล้วสำเร็จและเติบโตเป็นอย่างมากในตลาดประเทศจีน ซึ่งคนแรกที่ต้องพูดถึงคือเจ้าสัว “ธนินท์ เจียรวนนท์” เจ้าสัวธนินท์ได้เข้าไปในจีนยุคแรกๆของจีนเมื่อเริ่มมีการเปิดประเทศ ซึ่งสิ่งที่ต้องพูดถึงคือ บริษัทซีพีในจีน หรือที่รู้จักกันในนามเจินต้า (เจียไต๋) เป็นบริษัทข้ามชาติแห่งแรกในตลาดจีนโดยได้จดทะเบียนหมายเลข 001 ซึ่งต่อมาเจ้าสัวธนินท์ ได้บุกเบิกเข้าไปทำธุรกิจในตลาดจีนจนประสบความสำเร็จ

      คุณสมภพ เพทายบันลือ กรรมการรองเลขาธิการสภาธุรกิจไทยจีน แนะนำว่านักธุรกิจไทยที่ประสบความสำเร็จในตลาดจีนที่สำคัญและประสบความสำเร็จในธุรกิจมากคือ สุนทร ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ กลุ่มบริษัทมิตรผล ที่เริ่มต้นจากการตั้งโรงงานผลิตน้ำตาลมิตรผลในจีน ที่เขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงกว่างซี เป็นต้น

20 มาตรการเพื่อส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ

เมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2562 คณะรัฐมนตรีจีนได้ประกาศ 20 มาตรการเพื่อส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.ด้านการขยายการเปิดประเทศ

–        ปรับลดรายการข้อจำกัดและข้อห้ามสำหรับต่างชาติลงทุนในตลาดจีน (negative list) และยกเลิกมาตรการจำกัดทั้งหมดที่ไม่ได้อยู่ใน negative list

–        เร่งเปิดภาคการเงินให้ต่างชาติลงทุน โดยจะยกเลิกข้อจำกัดด้านขอบเขตการประกอบธุรกิจการเงินและปริมาณสินทรัพย์เพื่อเปิดสาขาธนาคารในจีนของธนาคารทุนต่างชาติ

–        ปรับปรุงนโยบายให้รถยนต์พลังงานใหม่ที่ผลิตโดยบริษัทลงทุนต่างชาติสามารถเข้าถึงตลาดจีนอย่าง เท่าเทียมกันกับบริษัทจีน

–        สร้างสิ่งแวดล้อมในการประกอบธุรกิจให้เป็นธรรม โดยห้ามกำหนดเงื่อนไขพิเศษสำหรับบริษัททุนต่างชาติในการรับรองสินค้าหรือการรับรองคุณสมบัติของบริษัท

2.ด้านการส่งเสริมการลงทุนที่จีน

–        ส่งเสริมการลงทุนที่จีนจากต่างชาติในธุรกิจเทคโนโลยีชั้นสูงมากยิ่งขึ้น

–        ยกระดับการพัฒนาเขตทดลองการค้าเสรีในตลาดจีน โดยจะมอบอำนาจในการอนุมัติการลงทุนให้หน่วยงานระดับมณฑลมากยิ่งขึ้น

–        ยกระดับคุณภาพแพลตฟอร์มที่จะดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ

–        สนับสนุนการดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติของรัฐบาลท้องถิ่น

3.ด้านการเพิ่มอำนวยความสะดวกในการลงทุน

–        ลดต้นทุนในการใช้เงินทุนข้ามพรมแดน โดยสนับสนุนบริษัททุนต่างชาติให้ใช้เงินหยวนในการชำระเงินข้ามพรมแดน รวมทั้งสนับสนุนบริษัททุนต่างชาติเลือกรูปแบบกู้ยืมเงินทุนด้วยตนเองเพื่อลดต้นทุนในการจัดหาเงินทุน

–        เพิ่มความสะดวกแก่ชาวต่างชาติที่ทำงานในจีน mit ติดต่อกันสองครั้งแล้ว

–        ลดขั้นตอนการขออนุมัติใช้ที่ดินสำหรับโครงการของนักลงทุนต่างชาติ

4.ด้านการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ที่ถูกต้องตามกฎหมายของนักลงทุนต่างชาติ

–        จีนจะปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการลงทุนจากต่างชาติ (Foreign Investment Law: FIL) อย่างเคร่งครัด รวมทั้งเร่งจัดทำกฎระเบียบอย่างละเอียดที่ใช้ควบคู่กับ Foreign Investment Law คาดว่าจะออกภายในสิ้นปี 2562

–        ห้ามหน่วยงานภาครัฐท้องถิ่นปรับเปลี่ยนขอบเขต ขั้นตอน และมาตรฐานในการขออนุมัติต่าง ๆ ของนักลงทุนต่างชาติ

–        ห้ามหน่วยงานภาครัฐหรือเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐจีนบังคับให้นักลงทุนต่างชาติหรือบริษัททุนต่างชาติถ่ายโอนเทคโนโลยี ทั้งทางตรงและทางอ้อม

–        จัดตั้งกลไกการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาและการลงโทษร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ สำหรับบริษัทที่กระทำผิดด้านทรัพย์สินทางปัญญา

–        บริษัททุนต่างชาติสามารถเข้าร่วมการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐอย่างเท่าเทียมกันกับบริษัทจีน และสนับสนุนบริษัททุนต่างชาติเข้าร่วมการกำหนดมาตรฐานของจีน เช่น มาตรฐานด้านอุปกรณ์การแพทย์ อาหาร และยา เป็นต้น

–        ในการจัดทำและประกาศใช้กฎระเบียบใหม่ ๆ ของหน่วยงานและพื้นที่ต่าง ๆ ของจีน ควรให้ระยะเวลาที่เหมาะสมเพื่อบริษัททุนต่างชาติจะได้เตรียมตัวพร้อมสำหรับกฎระเบียบใหม่ ๆ

 ประโยชน์และข้อได้เปรียบในการเข้าร่วมตลาดจีน?

 ประเทศจีนได้เข้าร่วมและทำข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน – จีน (ASEAN – China FreeTrade) ดังนั้นประเทศไทยจึงได้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรีนี้ โดยจีนได้ทำข้อตกลงให้สินค้านำร่องที่ไทยส่งไปยังตลาดจีนได้ยกเลิกภาษีนำเข้า ตั้งแต่ปี 2546 และทยอยยกเลิกภาษีของสินค้าที่เหลือซึ่งรวมแล้วกว่าร้อยละ 90 ของรายการสินค้าทั้งหมดมีอัตราภาษีนำเข้าเป็นศูนย์ ซึ่งถือว่าทำให้ผู้ส่งออกไทยได้ประโยชน์เป็นอย่างมาก

   ปัจจุบันไม่ว่าจะทำธุรกิจนำเข้าส่งออก ร่วมทุน หรือก่อตั้งบริษัทกับตลาดจีน จึงถือว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจแก่ผู้ประกอบเป็นอย่างยิ่ง หากใครต้องการที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญในการทำตลาดจีน สามารถติดต่อ บริษัท Millideas ได้ทาง

โทร : 02-938-7304 / 098-782-6141

Email : Info@millideas.net

Message us